Quantcast
Channel: Ayarafun Factory
Viewing all 60 articles
Browse latest View live

แจกไฟล์ esp8266 NodeMCU สำหรับ Fritzing ครับ

$
0
0

เอาล่ะครับ พอดีผมจะเริ่มทำ Tutorial โดนใช้บอร์ด NodeMCU V1.0 เป็นใหม่ของตลาด แต่ปัญหาก้อคือ หา part นี้ใน Fritzing ไม่ได้ ผมเลย ลองมั่วๆกับ Fritzing อยู่ หลายชั่วโมง จึงได้ NodeMCU ตัวนี้ขึ้นมา

Fritzing เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างภาพ Visual ของบอร์ดทดลอง ที่ข้อดีของมันคือภาพสวยมาก จะสังเกตว่าตัวอย่างตามเวป ส่วนมาก ก็ใช้ Friting นี้ล่ะ ทำภาพประกอบ ซึ่งจริงๆ นอกจากทำภาพประกอบ ก็ยังใช้ออกแบบวงจร หรือทำ Diagram ได้อีกด้วย

เมื่อทางผมทำขึ้นมาแล้ว ก็รู้สึกว่า เพื่อนที่อยากจะทำบทความไว้ share หรือ กำลังทำ สื่อการสอน คงจะเจอปัญหานี้เป็นแน่แท้ ทางผมเลยแจกกลับสักเลย ใครสนใจ ก็เข้าไปโหลดได้ที่  github

preview

วิธีการใช้งาน ก็คือโหลดไฟล์ fzpz มา แล้วลากไฟล์นี้เข้าไปเป็นชิ้นส่วนใหม่ได้เลยครับ ขอให้สนุกกับการเล่น NodeMCU นะครับ


รู้จักกับ Arduino ESP8266 (NodeMCU)

$
0
0

เข้าสู่โลก internet of things (IoT) กันแล้ว โดยอุปกรณ์ที่มาแรง ในตอนนี้คงหนีไม่พลาด ESP8266 ซึ่งในตอนนี้ แตกลูก แตกหลาน ออกมาหลายบอร์ด ทางเราก็เคยเอามาแนะนำไปแล้วในบทความเก่า มาเล่น ESP8266 บน Arduino IDE กันเถอะ ซึ่งบอร์ดที่เราใช้ เป็นบอร์ด NodeMCU Devkit ซึ่งในตอนนี้ ทาง NodeMCU จะออกมาอีกสองรุ่น คือ รุ่น 0.9 กับ รุ่น 1.0

ทางผู้พัฒนาตั้งใจจะออก NodeMCU ให้เป็น platform ที่ออกแบบทุกอย่างเป็น Node การทำงานย่อยๆ และ ใช้ภาษา Lua ในการเขียนโปรแกรม แต่ด้วย platfrom ที่สะดวกในการใช้งาน ทางกลุ่มนักพัฒนาของ ESP8266 ก็เลยนำ NodeMCU (ESP8266) มันบรรจุในเป็นบอร์ดหนึ่งของ ARDUINO IDE (ESP8266) ด้วยเลย ได้จึงได้มีการพัฒนาต่อให้สามารถเขียนในภาษา C++  ซึ่งพลอยเองได้มาลองเริ่มเล่น หลังจากที่บอร์ด NodeMCU (ESP8266) นี้มีการพัฒนาบน ARDUINO IDE เรียบร้อยแล้ว หากเป็นผู้ที่นิยมเล่นไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่ก่อนจะนิยมเล่นเป็นภาษา C/C++ ซึ่งภาษานี้สามารถไปได้กว้างเล่นได้หลายอย่างกว่า Lua

113990105 1_01

NodeMCU Devkit V1.0

ความแตกต่างของลักษณะภาษาที่เขียนระหว่างภาษาLUA ใน LUA IDE และภาษา C/C++ บน Arduino IDE ในโปรแกรมเดียวกัน คือ สั่งให้ไฟกระพริบ (Blink)

มาถึงตอนนี้ หลายคนมักมีคำถาม แล้ว Lua กับ C/C++ มันต่างกันอย่างไง Lua จะออกแบบให้เป็น interpreter มีคำสั่งการใช้งาน พอเพียงสำหรับใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ แต่ด้วยมันเป็น Interpreter มันต้องใช้พิ้นที่จำนวนมากใน flash rom ที่จะเอา firmware ตัวนี้ลงไปก่อน และ มันไม่ได้เป็น native ในบางเวลาจะทำงานช้ากว่า c/c++ แต่ข้อดีสุดๆ ของ LUA มันเป็น Interpreter จึงสามารถเขียนโปรแกรม จากเครื่องไหนก็ได้ ไม่ต้องพึ่ง compiler ต่อเข้ากับคอมได้ ก็เขียนโปรแกรมได้เลย

ส่วนใน C/C++ มีกลุ่มพัฒนา นำ SDK ของ ESP8266 มาพัฒนาต่อยอด ให้เข้ากับ platform ของ Arduino จึงทำให้ ESP8266 ใช้ภาษา C/C++ ได้นี้เอง

มันดูตัวอย่าง code กัน จะเห็นว่าความแตกต่างการใช้งานแล้วแต่ความชอบความถนัดของผู้ใช้

blink_LUA

ภาษา LUA

ในภาษา Lua จะเขียนเป็นแบบ Event – Drive และ มองทุกอย่างเป็น Object  ส่วนใน Arduino C/C++ หลายคน ที่ arduino มาอยู่แล้ว คงจะคุ้นเคยมากกว่า

blink_arduino

ภาษา C/C++ บน Arduino IDE

ข้อดีของบอร์ด Arduino ESP8266

  • เป็นแบบ Open Source Project มี Source code ให้ได้เรียนรู้อยู่บน Github ตามลิงค์  https://github.com/esp8266/Arduino
  • สามารถกด upload sketch ได้ เชื่อมต่อบอร์ด USB กับคอมพิวเตอร์ใช้งานง่าย ขนาดของบอร์ดต่อลง Protoboard ได้
  • ชิบภายใน ESP 8266 มี CPU ขนาด 32 bit แตกต่างจาก Arduino ที่เป็น CPU 8 bit
  • ถึงแม้ขา I/O จะไม่มากเท่าของ Arduino แต่เราสามารถเขียนโปรแกรมลงบนขา GPIO ได้ทุกขาพอๆกัน เป็นข้อดีที่เพิ่มมาจากความต้องการใช้ WIFI เชื่อมต่อเมื่อต้องการเล่น Arduino ทำให้ต้องซื้อ Module wifi เพิ่ม นั่นคือ NodeMCU (ESP8266) มีต้นทุนต่ำกว่ามาก
  • มีอุปกรณ์หลายอย่างที่ใช้งานที่แรงดัน +3.3 V เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราสามารถนำ NodeMCU (ESP8266) มาใช้เชื่อมต่อได้โดยตรง

ความแตกต่างระหว่าง V0.9 vs V1.0

NodeMCU Devkit v0.9

ESP8266_NodeMCU_Development_Board_from_Tronixlabs_Australia__12635.1426637210.1280.1280

nodemcu-devkit_v1

NodeMCU Devkit V1.0

113990105 1_01

nodemcu_v2_pin_map

  • NodeMCU  V1.0 มีลักษณะยาวขึ้นแต่แคบลง สามารถเสียบลงบน protoboard ได้
  • ชิฟแปลง USB2Serial ของ V0.9 เป็น CH340 แต่ของV1.0 เป็น CP2102 ในเวอร์ชั่นแรก ไดรเวอร์จะมีปัญหา OS ค่อนข้างมาก แต่ใน CP2102 จะใช้บน MacOS และมีปัญหาน้อยกว่า
  • ชิฟ WIFI ของ V0.9 เป็น ESP-12 แต่ใน V1.0 เป็น ESP-12E ทำให้มีจำนวนพินที่มากขึ้น และ พื้นที่ Flash มากขึ้น
    • ใช้ชิป Flash ความจุ 32Mbits (4MBytes)
  • มีปุ่ม RST (รีเซตการทำงาน) และ ปุ่ม Flash (สำหรับโปรแกรมเฟิร์มแวร์ใหม่)
  • มีขา A0 รับอินพุตแรงดันแบบแอนะล็อกสำหรับวงจร ADC (ขนาด 10 บิต) อ่านค่า 0V ถึง 1V

นอกจากนี้ ตัว Arduino ESP ยังใน กับ ESP8266 ทั่วไปๆ ได้ด้วย แต่เราจะไม่พูดถึงมาก มันต้องทำวงจร ใช้ในการ Flash เพิ่มเอง ซึ่ง ทางเราคิดว่า อยากให้สะดวก ได้ลองใช้กันเร็วๆ ดีกว่า ยุคนี้ Technology ไปกันไว้มากๆ

ESP-12

ชิบ WiFi บน Node MCU ESP8266 Devkit 0.9

ESP-12E

ชิบ WiFi บน Node MCU ESP8266 Devkit V1

esp

แต่นอกจาก NodeMCU devkit แล้วก็ยังสามารถนำตัวชิฟ WiFi ESP-12E หรือ ESP-12 มาออกแบบวงจรทำบอร์ดเองได้ แต่ข้อเสียคือเราต้อง Flash firmware เข้าไปเพิ่ม อย่างบอร์ดนี้ที่เป็นของ dw.mini ESP8266 ได้ใช้ FT232 เป็นตัวFlash แล้วเชื่อมต่อเข้าบอร์ดแบบ UART

18990256389_62686a4a14_z

บอร์ดทำเองของ dw.mini ESP8266 โดยใช้ชิฟ WiFi แบบเดียวกับNode mcu esp8266

18991913340_0abfd6166d_z

ใช้ FT232 เป็นตัว Flash เข้าบอร์ด

จะเห็นว่าเรามีหลายตัวเลือกในการใช้งานมาก แต่เราจะเลือกใช้ Node MCU (ESP8266) เลย หรือก็คือ Arduino ESP8266 เพราะใช้งานง่าย สะดวก ประหยัด และที่สำคัญที่สุดเราไม่ต้อง Flash firmware อะไรเพิ่มก็ใช้งานได้เลย มาถึงตอนนี้ คงช่วยหลายคนสับสน Lua และ Arduino ESP8266 น้อยลงบ้างแล้วนะ โดยบทความต่อไป เราจะใช้ Arduino ESP8266 ทำโปรเจค

ติดตั้ง Arduino ESP สำหรับ NodeMCU V1.0

$
0
0

สำหรับใครที่ยังไม่เคยเล่นไมโครคอนโทรลเลอร์มาก่อนเลย หรือแม้แต่ Arduino ให้ทำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ลงไปก่อน โดยเข้าไปกดติดตั้งได้ฟรีที่ https://www.arduino.cc/en/Main/Software  เราสามารถศึกษาเริ่มต้นการใช้งาน arduinoได้จากชุด library ที่ติดมากับโปรแกรมได้

12

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้ทำการเปิด Arduino IDE ขึ้นมาแล้วเลือกไปที่คำว่า menu > Preferences จะได้หน้าต่างแบบนี้ขึ้นมา

1

 

หลังจากนั้น ให้ copy ลิงค์นี้ http://arduino.esp8266.com/package_esp8266com_index.json ไปวางในช่องของ Additional Boards Manager URLs เพราะเดิมที บอร์ด Node MCU ESP8266 ถูกออกแบบมาให้ใช้กับภาษา LUA แล้วมีกลุ่มคนพัฒนาต่อให้ใช้บน Arduino IDE ได้ จึงต้องมีการเรียก  Package  ของบอร์ดนี้มาด้วย จากนั้นให้เลือก Tools > Board”xxxx” > Boards manager…

2

เมื่อเราเลือก Boads Manager เรียบร้อยแล้ว จะปรากฏหน้าต่างแบบนี้ มันจะทำการโหลดสักครู่ แล้วขึ้นคำว่า  esp8266 ให้เรากด more info

3

จากนั้นมันจะขึ้นคำว่า install ให้ ก็ทำการกดติดตั้ง รอการโหลดสักพัก แล้วทำการเปิด Tools > Board”xxxx” > จะเจอ ESP8266 ที่ติดตั้งแล้ว

4

หลังจากทำการติดตั้ง Arduino IDE เสร็จแล้ว ให้เรามาเช็คที่ System and properties>Device Manager เพื่อเช็ค port ถ้ายังไม่ขึ้นUSB ที่ต่อให้ทำการ Update Driver Software

5

 

6

7

ลองสังเกตที่ File > Examples จะเห็นว่ามีตัวอย่างเพิ่มขึ้นมาจากของ ESP8266  ทีนี้เราลองมาทำตัวอย่างเล่นๆทดสอบการทำงานเริ่มต้นจากไฟล์ตัวอย่างโดยเลือกไปที่ File>Exmples > ESP8266WiFi > WiFiScan  แต่ก่อนที่เราจะเริ่ม upload ให้ทำการเลือก board และ port ให้ถูกต้องกับที่ต่ออยู่ก่อน

11

การทำงานหลักของโปรแกรมนี้จะทำการScan wifiทั้งหมดที่อยู่รอบๆ และบอกออกมาเป็นระยะความแรงของสัญญาณ โดยดูได้จากมุมขวาบนที่เป็นเครื่องหมายคล้ายแว่นขยาย คือปุ่ม Serial monitor จะได้ผลลัพธ์โปรแกรมดังรูป

9

นั่นคือแสดงว่าสัญญาณwifiที่มันสามารถมองเห็นได้มีอยู่ 5 อัน โดยตัวที่สัญญาณแรงสุดจะเป็นESP_A45762 กับ TRCC_AP253  ดูจากตัวเลขความแรงที่เขียน 53 กับ 56 ตามลำดับสังเกตว่าจะตรงกับตัวสัญญาณเน็ตที่เราต่ออยู่จริงๆบนคอมพิวเตอร์ของเรา และสัญญาณที่มีความแรงสุดๆขึ้นเต็ม 5 ขีดก็มีสองตัวแบบเดียวกับ Node MCU ESP8266 สแกนได้

10

เตือนระวังภัย Ransomware

$
0
0

วันนี้มาเล่าเรื่อง Ransomware หรือ Crytrolocker ผมนั่งแก้ไขเครื่องที่ติด Crytrolcoker ซึ่งปรากฏว่าเดี่ยวนี้มันพัฒนา ไปเป็นรูปแบบที่ tool แก้กลับไม่ได้แล้ว ผมจึงมา share ให้ฟัง เตือนว่าอย่าประมาทกัน

Ransomware คืออะไร

pclock-ransomware

เอาแบบง่าย มันเป็นโปรแกรมโจร ที่ส่งเข้ามารันเครื่องเรา แล้วตัวโปรแกรม จะวิ่งเข้ารหัสไฟล์ภาพ และ ไฟล์เอกสาร เราทุกไฟล์ ทุก drive เราจะเข้ารหัส และ ทำให้มันไฟล์เปิดทำงานไม่ได้ โดยรหัสแก้ไข จะถูกส่งไปที่โจร และ ทางโจรจะแจ้งเรียกค่าไถ่ โดย malware ตัวนี้เข้ารหัส ไฟล์ไวมาก เป็นพันๆ ไฟล์ ใช้เวลา ไม่กี่นาที และ มันวิ่งเข้าหาไฟล์ ทุก drive เสียบ flashdrive มันก้อไปเข้ารหัสไฟล์ใน flashdrive ถ้าเครื่องต่อเข้า drive บน NAS มันจะวิ่งเข้าไปเข้ารหัสบนนั้นด้วย อันตรายสุดๆ

เรื่องนี้เกิดกับคอมพิวเตอร์ของเพื่อนผู้หญิง เขาเป็นคนใช้งานทั่วไปธรรมดา ไม่ได้สนใจเทคโนโลยีอะไร จึงไม่ได้ตรวจสอบ antivirus ว่ามันไม่ได้ทำงานแล้ว หรือ มี malware เข้ามาบ้าง และ ไม่ค่อยได้ backup โดยเครื่องนี้ น่าจะติดเพราะว่ามี malware ตัวหนึ่งติดอยู่ก่อน มันเลยทำให้ hacker ส่งโปรแกรม ตัวนี้เข้าเครื่องได้ แม้จะไม่เคยรับเมล์ใดๆ

โดยวิธีแก้ไข ยังไม่มีวิธีไหนที่รับรองได้ 100% แต่วิธีป้องกัน มันทำได้โดย

  1. อย่า! เปิดเมล์ที่ไม่รู้จัก อย่าเปิดไฟล์ที่ต้องสงสัย
  2. ติดตั้ง anti virus ,anti malware และ update ด้วยครับ
  3. เปิดระบบ windows backup อันนี้ในกรณี โดนเข้าไป ยัง restore ได้
    1. control panel>system and security > system
    2. จากนั้น click system protection เปิด ON ให้หมด
  4. backup บ้างครับ เราไม่รู้คอมจะหายไหม พังไหม หรือ จะโดน malware หรือป่าวครับ เราควรมี external drive ที่สำรองข้อมูลเราไว้

กรณี Randomware Dropbox ไม่ช่วยอะไรได้นะครับ มันเข้าไปแก้ไฟล์ ซึ่งแก้เสร็จมันก้อ sync เข้า dropbox ท่านอยู่ดี  แก้ไข dropbox มีความสามารถ rollback ย้อนกลับ version เก่า ได้ครับ

ผมยังคิดว่า ถ้ามันติดเครื่องผม คงหายนะมากก ตอนนี้ผมเองก็ทำอะไรไม่ได้ หลอนมาก ตอนนี้ รอวัน ที่มีคนทำเครื่องมือที่แก้ไขได้ ฝากเตือนกันด้วยนะครับ

ลองเล่น Blynk กันเถอะ

$
0
0

พบกับรูปแบบ IOTs ในแบบฉบับของ application ที่น่าสนใจ ” Blynk” ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ Device ของเราเข้ากับ internet ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น Arduino , ESP8266 , Rasberry pi หรือแม้แต่อื่นๆ ที่รวมเอา widget ต่างๆมาควบคุมแทนการเขียน code ยากๆ ไม่เพียงเท่านั้น ทางเลือกในการเชื่อมต่อเข้ากับ Blynk server เรายังสามารถใช้ได้ทั้ง WiFi และเครือข่ายมือถือ โดยสามารถ Download application นี้ได้ฟรีทั้งระบบ IOS และ Android

1c622f9beb988b1619213b345e5b8639_large

 

ติดตั้ง library Blynk บน Arduino IDE

>> https://github.com/blynkkk/blynk-library/releases/tag/v0.3.0

ในกรณีที่ลืมวิธีการติดตั้ง library บน Arduino IDE สามารถดูได้จาก https://www.arduino.cc/en/guide/libraries

เริ่มต้นใช้งาน Blynk

เราต้องสมัคร ลงทะเบียน เพื่อใช้งานก่อน ให้เลือกที่คำว่า Create New account เพื่อสร้างการเชื่อมต่อกับ application กับ Email ของเรา

11952030_173220363009276_4225445578402356859_n

นอกจากนี้ เรายังสามารถ connect เข้ากับ server ของ Blynk ของเราเองได้ โดยเลือก Custom และใส่  IP Address ของ Server เราเอง โดยกดที่รูป Problems Signing In แล้วเลื่อน scroll จาก Blynk ไป Custom

11898611_173237109674268_1597111626113355280_n

ต่อมาเป็นการสร้าง project ของเราด้วย Blynk ให้กดที่สัญลักษณ์หกเหลี่ยมมุมขวาบนเพื่อตั้งค่า

11951201_173220556342590_2937373552259260306_n

โดยในหน้านี้เราสามารถตั้งชื่อ project ของเราและเลือกรูปแบบ Hardware ที่เราจะใช้ได้

11896127_173220513009261_654916617496264023_n

Hardware ให้เลือก ESP8266 นะ

11933448_173220533009259_4728013560478535936_n

โดยทุกๆครั้งที่เริ่มสร้างโปรเจคใหม่ AUTH TOKEN จะถูกเปลี่ยนใหม่เสมอ ซึ่ง KEY นี้เองที่เป็นเสมือนกุญแจสำหรับเชื่อมต่อ โดยที่เราไม่ต้องใช้ user, password เราสามารถกดที่คำว่า ” E-mail ” เพื่อส่ง KEY นี้เข้าเมลเราได้

token

การใช้งานบน Arduino IDE

หลังจากเราลง library Blynk เรียบร้อยแล้วจะมี Example ที่ติดมาด้วยจำนวนมาก ซึ่งในบทความนี้จะขอแนะนำตัวอย่างง่ายๆ เริ่มต้นไปกับ ESP8266_Standalone ก่อนนะ

ex

ในโค๊ดนี้เราจะสังเกตเห็นว่ารูปแบบการสั่งงานสั้นมากๆใน void loop() มีเพียง Blynk.run(); เพื่อสั่งงานจากภายนอก

rr

และในบรรทัด char auth[] = “YourAuthToken”; ให้ไป copy key ของ Auth Token จากใน Email ที่เราได้รับมาใส่

bv

บรรทัด Blynk.begin(auth,”ssid”,”pass”); ให้ใส่ชื่อ Wifi ที่เราใช้เชื่อมต่อกับ app ใน ssid และ password wifi ใน pass

และในกรณีเราเปลี่ยนรูปแบบการเชื่อมต่อ Wifi เป็นแบบ IP Address เราสามารถเขียนโค๊ดได้ว่า

tr

จากนั้นให้ทำการ upload ลง board แล้วเปิด Serial Monitor จนกระทั่งมีข้อความขึ้นแบบนี้

m

ต่อมาเราจะเริ่มสร้างโปรเจคของเราบน Blynk โดยการกดที่พื้นที่ว่างเปล่าตรงไหนก็ได้ในหน้า New project จะปรากฏหน้าต่างของ Widget ให้เราเลือกขึ้นมา

11951301_173249183006394_2971585480839661194_n

11231687_173220446342601_4405701448177011406_n11903942_173220406342605_851270391246469463_n

ซึ่งในเร็วๆนี้ ทาง Blynk จะมีการปล่อย Widget ออกมาใหม่ๆให้ได้ลองเล่นเพิ่มอีก แค่ที่มี ก็เล่นไม่หมดแล้ว

cdada3724c6e8a1a6cd1b6485edbb081_large

ในบทความรอบนี้เราจะลองให้ดูอะไรที่ง่ายๆก่อน ให้ลองเลือก Button widget มาลงบนพื้นที่ว่างเปล่ามา 1 อัน

11919111_173250596339586_7195514396400731696_n

จากนั้นเราจะมาตั้งค่าการใช้งานปุ่ม Button กันโดยกดไปที่รูป Button ที่เราเลือกจะปรากฏหน้าต่างแบบนี้ ซึ่งในหน้านี้เราสามารถเปลี่ยนชื่อปุ่มได้ และเลือกโหมด output pin ที่ต่อกับอุปกรณ์จาก board ของเราได้

11951203_173250576339588_2523791405190423754_n

เลือกรูปแบบ pin จะให้เป็นขา Digital หรือ Virtual ก็ได้ ซึ่งรูปแบบ Virtual จะไม่ใช่การรับค่าจากขาตรงๆ เป็นเหมือนการสร้างตัวแปรมาเก็บค่าอีกที และเลือกขา GPIO ให้ตรงกับ อุปกรณ์ที่เราจะต่อ

11951992_173250549672924_6728256514309978365_n

ซึ่งรูปแบบการตั้งค่า Button นี้จะแทนการเขียนรูปแบบโค๊ดเดิมๆใน void setup() ได้เลย

uk

เป็นข้อดีอย่างหนึ่งของ Application ที่นอกจากเราไม่ต้องเขียนแอพเองขึ้นมาใช้แล้วยังลดการเขียนโค๊ดที่ยุ่งยากลงไป

ตัวอย่างการต่อวงจร led มาใช้กับ Blynk

จากนั้น ลองต่อวงจรง่ายๆ เอา LED มาต่อเข้ากับ ขา LED 16

11954721_173250523006260_545238930791924611_n

จากเห็นได้ว่า เราสามารถทำต้นแบบ อุปกรณ์ เปิด ปิดไฟ ผ่าน Internet ได้อย่างรวดเร็ว ลากๆ และ คลิก ไม่ต้องมี PC ด้วย และ ถ้าอยากจะเพิ่มอุปกรณ์ อย่าง LED หลายดวง เราก็เพียงเพิ่ม Widget ใน Mobile App และเลือกขา GPIO ของ OUTPUT ให้ตรง ใช้งานได้เลย

เมื่อเราจะทดสอบการใช้งาน Blynk ให้กดปุ่ม สามเหลี่ยม Play ที่มุมขวาบน ข้างๆรูปหกเหลี่ยม แล้วเริ่มกดตามปุ่ม Button บนหน้า Blynk ที่เราสร้างไว้เพื่อสั่งงานติดดับ led ได้เลย จะเห็นว่า Blynk มีการใช้งานง่าย สะดวก และสนุกไม่ยุ่งยากในการเขียนโค๊ดเดิมๆอีก หากใครสนใจสามารถดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมจาก Blynk_Github

เอาล่ะ เดี่ยวคราวหน้า มาว่าเราจะลอง เล่นอะไรกับ Blynk อีกได้บ้าง

มารู้จัก เมกเกอร์ และ เมกเกอร์มูฟเม้นท์ (maker movement) แบบสรุปกันดีกว่าครับ

$
0
0

สวัสดีครับ เพื่อนเมกเกอร์ ปีนี้กระแสเมกเกอร์ มาแรงมากๆ เพราะว่าปีนี้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชมรม สมาคม ต่างพาการผลักดัน โดนไม่ได้นัดหมาย ตั้งแต่ ต้นปี มีการจัดงาน เชียงใหม่ maker party จนกระทั่ง กระแสการเกิดmaker space ในจังหวัดต่าง และการ Meetup ที่เราจะเห็นว่า จัดกัน แทบทุกเดือน จนหลายคนเริ่มรู้สึกว่า เรากำลังตกเทรนอะไรหรือเปล่านิ นี้มันเกิดอะไรขึ้น วันนี้ทางผมถือโอกาส แนะนำให้รู้จัก เมกเกอร์(Maker) กันเลยดีกว่า

เมกเกอร์ คือใคร??? คืออะไร???? เพื่ออะไร ????

เมกเกอร์ คือ บุคคล หรือ กลุ่มคนผู้สนใจ การสร้าง และ ประดิษฐ์ อะไรสักอย่างด้วยตัวเอง ซึ่งจะสร้างเพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง หรือ จะต่อยอดเพื่อขายก็ได้ มองให้ง่าย มันเป็นงานอดิเรก ที่ใช้เวลาในการสร้าง คิด และ แก้ปัญหา

เหมือนขี่จักรยาน เล่นดนตรี เต้นรำ หรือ แต่ง cosplay ไม่ใช้ทุกคนที่จะเอามาทำเป็นอาชีพ หรือ เพื่อเข้าประกวด เป็น The Voice ,The Star กันอย่างเดียวสักหน่อย มองให้ง่ายกว่านี้ัอีก เดี่ยวนี้คนขี่จักรยาน ก็เสียเงินเป็นหมื่นๆ ไม่ได้อยากปั่นเพื่อเป็นทีมชาติกันทุกคนสักหน่อย

11046433_1043280932353372_4352500511754285539_nความแตกต่างของ Maker และ Startups

เมกเกอร์ก็เช่นกัน เขาอาจแค่สนใจ อยากสร้าง อยากแก้ปัญหาเป็นหลักก่อน ไม่ได้อยากขาย หรือ ทำธุรกิจ อาจจะเป็นพนักงานบริษัท และคนที่สนใจ อยากสร้างอะไรสักอย่าง เพื่อความสุข หรือ อยากเรียนรู้ ตามความสนใจของเขาเอง (แลดู indie แต่ผมเชื่อ ทุกคน คงผ่านจิตวิญญาณ แบบนี้บ้างล่ะ) แต่ เมกเกอร์ บางคน อาจจะอยากเป็นผู้ประกอบการณ์นะครับ ต่อยอดจากสิ่งที่ประดิษฐ์ ไปเป็นผลิตภัณฑ์ นะครับ

เนื่องด้วยยุคสมัยนี้ เป็นยุคที่ Internet และ Social Network เฟื่องฟู เราสามารถหาความรู้ในการสร้างสิ่งต่างๆ ในเน็ตได้ blog ,facebook, youtube หรือ ติดปัญหา เราก็หาแหล่งความรู้ที่จะสอบถามได้ เกือบทุกเรื่อง และ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง หาได้ง่าย จึงเป็นการเปิดโอกาส ให้ทุกคนเป็นเมกเกอร์ได้ ไม่ต้องจบสายวิศวะเพียงอย่างเดียว แค่คนที่อยากสร้าง และลงมือ เท่านั้นเอง

เมกเกอร์มูฟเม้นท์ (maker movement) จากการสิ่งที่เล่ามาทั้งหมด จากการเป็นนักสร้าง จากนิสัยและจิตวิญญาณ อยากจะทำสิ่งใหม่ เพื่อแก้ปัญหา ภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน เลยสนใจอยาก เพิ่มจำนวนเมกเกอร์ จะเป็นการแก้ปัญหาเรื่องขาดคนเข้าใจเทคโนโลยี เพื่อมาช่วยกัน คิดสร้างสิ่งใหม่ ที่จะใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

โดยในปีนี้ ในไทย มีงาน Bangkok Mini Maker Faire ด้วยครับ เดี่ยวเราไปเจอกันที่งานครับ

งานจัดที่ วันที่  26 – 27 กันยายน 2558 เวลา 10:00 – 18:00 น. หน้า Hard Rock Cafe สยามสแควร์  เวปไชต์ข้อมูล Bangkok Mini Maker Faire

ESP8266 บันทึกข้อมูลเข้า Thingspeak

$
0
0

เอาล่ะครับ เพื่อเป็นการตอบรับ เกี่ยวกับ Internet of Thing ที่กำลังจะมีบทบาท และ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราต่อไป ทางเราจึงได้ออกบทความชุดแรก เกี่ยวกับ การประยุกต์ สร้าง Sensor Electronic ผ่าน Platform Arduino ซึ่งหาง่าย มาเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet

มารู้จัก Thingspeak

Screen Shot 2558-04-06 at 14.23.29

Thingspeak เป็นบริการ Platform as a Services ที่ให้บริการ เก็บข้อมูลแบบ Real-time, แสดงข้อมูลกราฟ จากที่ใดก็ได้ในโลก และ สามารถเปิดดูจากที่ไหนก็ได้ อีกเช่นกัน ซึ่งก็คล้ายกับ data.sparkfun.com แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ Thingspeak จะแสดงผลข้อมูลผ่านกราฟได้ และ ดึงข้อมูล (PUT DATA) ไปใช้แสดงผลที่เวปเราได้ผ่าน <iframe> ซึ่งมัน update realtime ด้วย ซึ่งมีทั้งบริการทั้งแบบฟรี และ เสียเงิน แต่ในเวอร์ชั่นฟรี จะยอมให้เราบันทึกข้อมูล ทุกๆ 15 วินาที นะครับ

สำหรับ Thinkspeak จะเปิดให้เรา Sending Data ได้ 2 รูปแบบ

1. HTTP Request

การส่งข้อมูลจะส่งโดยใช้ GET Method รูปแบบของ HTTP Request แบบที่ data.sparkfun.com ใช้งาน สำหรับ Thinkspeak จะใช้รูปแบบดังรูป

capture-20150414-133302

2. REST API (Representational State Transfer)

เป็น Web Service แบบเรียบง่าย โดยเรียกใช้ผ่านทาง HTTP Method GET/POST/PUT/DELETE  ซึ่งมันออกแบบไว้เป็น เชื่อมต่อกับจัดการฐานข้อมูล แสดงผล, เพิ่มรายการ, แก้ไขรายการ และ ลบรายการ ซึ่งมันทำได้มากกว่า HTTP Request

Method การทำงาน รูปแบบ URI
GET เรียกข้อมูลมาแสดงหลายรายการ http://example.com/tests/
เรียกข้อมูลมาแสดงทีละรายการ http://example.com/tests/123
POST เพิ่มข้อมูล http://example.com/tests/
PUT แก้ไขข้อมูล http://example.com/tests/123
DELETE ลบข้อมูล http://example.com/tests/123

ซึ่งใน API ของ Thinkspeak ใช้แค่ GET และ POST ครับ ซึ่งเราจะใช้แบบ HTTP Request เหมือนเดิมก็ได้นะครับ แต่ในบทความนี้ ทางผมจะเลือกใช้ REST API บ้าง เพื่อให้ที่พวกเราเห็นวิธีการส่งข้อมูล หลากหลายรูปแบบครับ ซึ่งใครอยากลอง HTTP Request ลองเอง ก็ได้ครับ ไม่ยาก แค่จัด format ที่จะ Request ใหม่เท่านั้น

เริ่มต้นกันเลย

  1. สิ่งที่แรกที่ต้องทำ ลงทะเบียนกับทาง เวป ThingSpeak
  2. สร้างช่องของคุณ Channels page โดยการ click Create New Chaanel
  3. จากนั้นเราจะได้ API Key สำหรับ เขียนข้อมูลเข้า Server
  4. จากนั้นเราส่งข้อมูลเข้า Server ได้เลย ครับ

สร้าง Package สำหรับส่งให้ Web Server

Package ข้อมูลที่ จะใช้ส่งไปยัง WebServer ซึ่งจะประกอบไปด้วยค่าของ API Key และ ข้อมูลของ field

capture-20150414-134340

โดยใน Arduino เราจะสร้าง Package นี้โดย ซึ่งใน tsData จะเป็นข้อมูลอื่น ก็ได้นะครับ หรือ จะต่อมากกว่า 1 ข้อมูล ก็ได้นะครับ

    client.print("POST /update HTTP/1.1\n");
    client.print("Host: api.thingspeak.com\n");
    client.print("Connection: close\n");
    client.print("X-THINGSPEAKAPIKEY: "+writeAPIKey+"\n");
    client.print("Content-Type: application/x-www-form-urlencoded\n");
    client.print("Content-Length: ");
    client.print(tsData.length());
    client.print("\n\n");
    client.print(tsData);

ดูเพิ่มเติมจาก https://thingspeak.com/docs/channels

เข้าไปดูโค๊ดทั้งหมดได้ที่ลิงค์นี้ Thinkspeak_rest.ino

เอาล่ะครับ คงได้เห็นการประยุกต์ ESP8266 ไมโครคอนโทรลเลอร์ Standalone ตัวเดียวที่ใช้ ส่งข้อมูลเข้า Server ได้ ตอนนี้ก็อยู่ที่เราล่ะจะเอาไปประยุกต์อะไรกัน

เพิ่มเติม

แจก ESP8266 Pin Out สำหรับ เอาไปช่วยสอน

$
0
0

g20238เนื่องจากไฟล์ที่อยู่ในเน็ท ไม่ค่อยคมนะครับ ผมทำไว้อยู่แล้ว เลยต่อเติม เผื่อว่าจะเอาไปทำอะไรต่อเองกัน  ส่วนไฟล์เอาที่นี้ได้เลย esp8266_pinout


โปรแกรมจำลองการทำงานวงจรไฟฟ้าแบบออนไลน์ ที่ดีที่สุด 10 อันดับ

$
0
0

สวัสดีเพื่อนชาวเมกเกอร์บ่อยครั้งที่เรา อยากแชร์วงจร ให้คนอื่นเห็น หรือ อยากจะไปทำงานที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องแบกคอม หรือ ต้องลงโปรแกรมกันให้วุ่นวายอีกต่อไป ทุกวันนี้ Internet ก็เข้ามาถึง ทุกบ้านเรือน Servics ต่างๆ หรือ โปรแกรมที่เราใช้บน desktop เริ่มจะย้ายไปอยู่บน cloud  ทางผมเลยถือโอกาส เอาโปรแกรม สำหรับ สร้างวงจร สร้าง PCB และ Simulation ได้ (บางตัว) มา รีวิวให้ดูกัน

โปรแกรมจำลองการทำงานวงจรไฟฟ้าแบบออนไลน์  จะมีทั้งแบบ เพื่อใช้ในการศึกษาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจำลองการทำงานวงจร เพื่อออกแบบวงจร ไปจนถึงจำลองการทำงานร่วมกับ Arduino ได้เลย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดลงมาติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานโดยตรงผ่านหน้าเว็บไซต์ได้เลย ทางเราได้รวบรวมโปรแกรมออกแบบวงจรทำงานบนเวป มาให้รู้จัก 10 อันดับ ดังต่อไปนี้

  1. EasyEDA ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จำลองการทำงานวงจร และ ออกแบบ เป็นโปรแกรมฟรีสำหรับจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าแบบออนไลน์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ทุกคนที่ชื่นชอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยทีมงานของ EasyEDA ได้พยายามอย่างหนักที่จะนำเอาโปรแกรมการออกแบบที่มีความซับซ้อนมาไว้บนเว็บไซต์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้ว ถึงตอนนี้เครื่องมือต่างๆ ดีเยี่ยมพร้อมสำหรับทุกการใช้งาน คุณสามารถใช้ซอฟต์แวร์นี้ออกแบบวงจรได้ (schematic) ตรวจสอบวงจรที่คุณออกแบบมาทำงานได้หรือไม่ ด้วยเครื่องมือจำลองการทำงานวงจร (circuit simulator) และ ยังออกแบบแผ่นพิมพ์ลายวงจร ( PCB: printed circuit board) ได้ด้วยซอฟต์แวร์ตัวเดียวกันนี้ได้เลย บนเว็บไซต์ EasyEDA
    อีกทั้งในเวปยังมี โปรเจ็กต์ที่ผู้ใช้ คนอื่นได้ออกแบบไว้และแชร์เอาไว้ (open-hardware) รวมไปถึงวิธีการสอนการใช้งานที่เป็นประโยชน์อธิบายถึงการใช้งานเครื่องมือหลัก ๆ ในโปรแกรม ทำให้สามารถเรียนรู้และเริ่มต้นใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำไฟล์(ส่งออก) จากโปรแกรมอื่นเข้าได้ ทั้ง Eagle, KiCad, LTspice และ Altium Designer ส่งออกไฟล์การออกแบบชนิด .PNG หรือ .SVG. ทั้งหมดที่พูดมา เป็นภาษาไทยด้วยนะ เขารู้ได้ไงจะมีคนไทยใช้ล่ะนิeasyeda
  2. Circuit Sims เป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สสำหรับจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าบนเวปไชต์ตัวแรก ตัวโปรแกรมนี้ จะเป็นเหมือนเครื่องมือสำหรับนักเรียนและผู้ทดลองอิเล็กทรอนิกส์ได้รู้จักวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเวป  แต่เสียดาย ที่ไม่สามารถไม่มีส่วน cloud ทำให้ ไม่สามารถ save ไฟล์ได้ ข้อดี คือมันฟรี และ พอเพียงครับ
    CircuitSims
  3. DC/AC Virtual Lab เป็นโปรแกรมที่ออกแบบโดยใช้ภาพแนวเสมือนจริง โปรแกรมนี้ เด็กๆน่าจะชอบ เหมือนจับอุปกรณ์ประกอบบนบอร์ดทดลองจริง เหมาะมากสำหรับการสอน แต่ตัวโปรแกรมมีอุปกรณ์ไม่ได้มาก เพิ่มไม่ได้ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อฝึกฝนต่อวงจรทดลองเท่านั้น
    DCACLAB
  4. Every Circuit เป็นโปรแกรมฟรีจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าแบบออนไลน์ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่สวยงามดูดี สามารถสร้าง account แบบออนไลน์ได้ โปรแกรมนี้ให้พื้นที่ในการวาดวงจรแบบจำกัด หากจะใช้ได้อย่างไม่จำกัดจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม ปีละ $ 10 สามารถทำงานแบบ mobile หรือมือถือได้ด้วย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโปรแกรมมีความสามารถในการจำลองการทำงานจำกัด อยู่เพียงค่าตั้งต้น spice minimum parameters อย่างไรก็ตาม มันเป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายมาก มีระบบการออกแบบที่ดี และสามารถนำการจำลองวงจรของคุณไปฝังอยู่ (embed) บนเว็บไซต์ของคุณเองได้ด้วย
  5. DoCircuits โปรแกรมนี้จะทำให้เราอึง หลังจากที่เห็นครั้งแรก แต่ว่าเว็บไซต์นี้มีดีที่ให้ตัวอย่างวิธีการทำงานของโปรแกรมว่าทำงานอย่างไร ลองเช็คดูจากวิดีโอ “get started in five minutes” (เริ่มต้นเรียนรู้ใน 5 นาที)  และ ตัวโปรแกรมจำลอง ทำได้สุดยอดจริง แค่เข้าเวป เราก็ใช้งานได้แล้ว ถ้ามีโปรแกรมแบบนี้ ตอนเรียน คงไม่ต้อง crack
    docircuit
  6. PartSim โปรแกรมจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้าแบบออนไลน์ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในส่วนของ spice simulation ทดสอบได้ตั้งแต่ AC analysis, DC bias, DC sweep และ transient response ไม่ต้องถามว่าคืออะไร ถ้าอยู่ใน filed ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ จะรู้จักดี โปรแกรมนี้แค่เราวงจรไฟฟ้าและทดสอบการทำงานของมันได้เลย แต่โปรแกรมนี้ยังถือว่าใหม่อยู่ ยังมีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้เลือกใช้น้อย
    PartSim
  7. 123D Circuits โปรแกรมที่นำเสนอเชิงกิจกรรมการทดลองพัฒนาโดย AutoDesk โปรแกรมนี้เมกเกอร์ชาวไทย น่าจะผ่านตากันมาบ้าง โปรแกรมนี้ให้เราสร้างวงจรจากโพรโตบอร์ดบนแพลตฟอร์ม Arduino จากนั้น จำลองการทำงานวงจร จนสิ้นสุดที่การสร้างแผ่น PCB ชิ้นส่วนต่าง ๆ แสดงให้เห็นจริงแบบสามมิติ ส่วนที่ยอดเยี่ยม ต่อวงจรกับ Arduino เสร็จ เราสามารถใช้โปรแกรมนี้จำลองได้เลย ใครอยากศึกษาเขียนโปรแกรม arduino อันนี้ล่ะ เด็ดสุด
    123d
  8. TinaCloud เป็นโปรแกรมนี้ จะจำลองการทำงานวงจรที่ซับซ้อนมากๆได้  จำลองการทำงานวงจรสัญญาณผสม (ดิจิตอล-แอนะล็อก) ไมโครโปรเซสเซอร์ รวมถึง VHDL, SMPS Power Supplies และวงจรความถี่วิทยุ (radio frequency). การคำนวณเพื่อแสดงผลการจำลองจะคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ที่เซิร์ฟเวอร์โดยตรง ทำให้จำลองวงจรได้เร็วขึ้น
    tinycloud
  9. Spicy schematics เป็นโปรแกรมจำลองอีกตัวที่ดีมาก และที่สามารถทำงานได้หลากหลายอุปกรณ์ รวมไปถึง ipad ได้ (cross-platform software) แต่มันไม่มีให้เราลองก่อน ต้องสมัคร
    spicy_sch

Gecko simulationsเป็นซอฟต์แวร์จำลองการทำงานวงจรที่เน้นไปที่ความเป็น โอเพ่นซอร์ส (open source) และวงจรด้าน power supply โปรแกรมนี้จำลองการทำงาน ได้ถึงความร้อนที่จะเกิดขึ้นบนแผงวงจรได้ เป็นซอฟต์แวร์ที่เริ่มพัฒนาที่ ETH (ETH Zurich) แล้วแยกตัวออกไปภายหลัง ข้อดีอีกข้อ มันเชื่อมต่อกับ MATLAB/Simulink
pfc_simเป็นอย่างไง กันบ้าง ผมว่า รอบนี้เราคงได้เปิดหู เปิดตา ได้เห็นเครื่องไม้เครื่องมือ ที่อาจจะเอาไปเป็นสื่อการสอนได้นะครับ ผมว่าบางตัวเอาไปประกอบการสอน หรือ เอาใช้ทดลองเอง ก็เหมาะนะครับ และเจอกันใหม่ตอนหน้าเร็วๆนี้ครับ

ซอฟต์แวร์จำลองการทำงานของวงจรและออกแบบแผงวงจร– EasyEDA

$
0
0

ผมว่าแต่ก่อน พวกเราเคยเจอปัญหาแบบนี้กันแบบนี้แน่ อยากจะพัฒนาอุปกรณ์วงจร แต่ต้องหาโปรแกรมมาลงเครื่องกันมากมาย ทั้งแบบ ฟรี หรือ แอบใช้ฟรี แต่ด้วยยุคที่อะไรย้ายไปอยู่บนคลาวด์ แม้แต่โปรแกรมยังย้ายไปบนคลาวด์ รอบนี้ผมจึงมีโปรแกรมมาแนะนำ ที่สามารถออกแบบวงจรได้ จำลองการทำงานได้ และ ออกแบบแผงวงจร (PCB) ได้อีก

EasyEDA เป็นโปรแกรมเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มาครบมาก และ โปรแกรมรันอยู่บนเว็บเบราว์เซอร์ ทำงานได้ทุกที่ ที่ต่อคลาวด์ ต่อเน็ทได้ ไม่ต้องติดตั้งก่อน และ เราทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ ผมมองมันเหมาะสำหรับวิศวกรไฟฟ้า อาจารย์ workshop ผู้สอน นักเรียน นักศึกษาวิศวกรรม และ ผู้ที่สนใจ มีงานอดิเรกอิเล็กทรอนิกส์ และ ที่สำคัญมัน ฟรี ครับ

easyeda

จุดเด่นของ EasyEDA:

  1. ออกแบบวงจรได้ วาดวงจรได้ (schematics) ได้ มีไลบราลี่ของอุปกรณ์มาตราฐาน และ เพิ่มเติมด้วยตัวเองได้ 
  2. ออกแบบแผงวงจรได้ สามารถออกแบบแผงวงจรแบบออนไลน์ได้ ทำงานแบบหลายเลเยอร์ ทำงานได้ อย่างลื่นไหลและรวดเร็ว
  3. ปรแกรมจำลองการทำงานของวงจร (spice simulation) ทดสอบได้ทั้ง วงจรอนาล็อก วงจรดิจิตอล และ วงจรสัญญาณผสมด้วยวงจรย่อยและโมเดล Spice

image111

ระบบของ  EasyEDA เรียนรู้ได้ง่าย ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ตอบสนองได้เร็ว ถ้าคุ้นเคยกับโปรแกรม Eagle Altium ผมว่าน่าจะใช้เป็น ถึงแม้ไม่เคยใช้ ก้อน่าเรียนรู้ได้ไม่ยากครับ และ สามารถ Import โปรเจคจาก Altium, Eagle และ KiCad เข้ามาแก้ไขบน EasyEDA ได้เลยอีกด้วย ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ EasyEDA คือ ชุมนุมนักพัฒนาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ Open Source Modules ที่พัฒนาโดยวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ และ นักอิเล็กทรอนิกส์ จากทุกมุมโลก มาสร้าง Modules และ แบ่งปั่น ให้ใช้กัน EasyEDA มีไลบรารี่จำนวนมาก และ มีตัวอย่าง schematics อีกให้ดูเป็นหมื่นตัวอย่างที่ เรียกใช้จากออนไลน์ได้

capture-20160312-224721

 

การใช้งานก็ยังมี tutorial แบบออนไลน์ ที่อธิบายหลักการใช้เครื่องมือต่างๆ และ Simulation ebook อธิบายโปรแกรมจำลองการทำงานวงจรใน EasyEDA โดยใช้ ngspice อีกด้วย

มาดูวิดีโอการใช้งาน EasyEDA กันเองดีกว่านะ พูดไปอาจจะงง มาลองใช้กันดูดีกว่า อาจจะติดใจ

SubPos Positioning System : ระบบระบุตำแหน่งในอาคาร แบบไม่ใช้ GPS

$
0
0

SubPos เป็นระบบระบุตำแหน่งภายในอาคาร อย่างเช่น สถานีรถไฟ , ห้างสรรพสินค้า ,ลานจอดรถ  หรือ สถานที่ ที่ GPS เข้าไม่ถึง ,โดยเทคโนโลยีจะใช้ประโยชน์จาก WIFI ทั้ง smartphone , access point รวมไปกับ อุปกรณ์ IoT อื่นๆ ที่ต่อ wifi ได้ อย่างเช่น หลอดไฟ

เทคนิดดูไป คล้ายกับ ibeacon นะครับที่ใช้เป็น ความแรงสัญญาณ แต่ด้วยระบบใหม่ SubNode ที่จะมีการสื่อสารข้อมูลกันด้วย ตัวอุปกรณ์ที่ติดตั้งไปใหม่ มันจะไป calibrated ระบบเดิมที่รู้ตำแหน่ง ทำให้หาตำแหน่งใหม่ได้ และด้วยจำนวนของ WIFI Device ที่มันจำนวนเยอะเหมือนกันในปัจจุบัน เทคนิดอาจจะ work กว่าก็เป็นได้ครับ (ตอนนี้ เป็นโปรเจคทดลอง concept กันอยู่นะครับ)

5495321436789611001

โดยตัว SubPos Modules and clients อาจจะเป็นอะไรก็ได้ แม้แต่ ESP03 ระบบหารถตัวเองในลานจอดรถน่าจะเป็นจริงมากขึ้น ทุกวันนี้ รถสีขาวมันมากกว่าเดิมมากขึ้นเยอะ ผมเดินหาไม่เจอ

532351464008485561

อ่านโปรเจคแบบเต็มๆ ได้ที่  กดนี้เลย Hackaday.io; ทำโมดุลรับได้จากแหล่งนี้ กดเข้าที่ GitHub

Virtual Trainer : ระบบฝึกช่วยบุคคลภาวะหัวใจวาย

$
0
0

ระบบเทรนนิ่ง  สำหรับการช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะหัวใจวาย เนื่องจากในภาวะหัวใจวาย ต้องได้รับการรักษา อย่างทันท่วงที่, อย่างไรก็ตาม ส่วนมากไม่ได้รับการฝึกในการปฐมพยาบาลแบบนี้ มักจะลังเล โครงการนี้ เสนอระบบฝึกสอน เหมือนมีครูฝึกมืออาชีพ มาไกด์กันใกล้ ไปเลยครับ

โดยระบบฝึกแบบง่าย ต่อเข้าจอทีวี ใช้งานได้เลย ทำงานร่วมกับกล้อง กับ หุ่นจำลองขนาดเท่าคนจริงที่ติด sensor วัดแรงกดเอาไว้ จะฝึกกันท่าไหน ดูจากวีดีโอได้เลยครับ

พาทัวส์งาน Maker Faire Tokyo 2015 ภาค 1 : บอร์ดสวย ดูดี๊ดี มากมี IoT

$
0
0

เอาล่ะ ในครั้งนี้ทางผมจะพาทัวส์งาน Maker Faire Tokyo กันครับ งานแสดง Maker ที่โตเกียวเป็นสิ่งที่ผมตั้งใจว่า สักวันหนึ่ง ทางผมเองจะบินไปดูเองให้ได้ เพราะว่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ความมีระเบียบ และ มีเกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ อย่างการ์ตูน อนิเมะ ที่อยู่คู่กับคนที่นี้ จนมันเป็นส่วนหนึ่งของเขาไปแล้ว สักวันเราจะบินไปญี่ปุ่น และ คุยกับคนที่ชอบประดิษฐ์ อะไรบ้าๆบอๆ เหมือนกับเราให้ได้

บทความนี้ที่ล่าช้า บอกได้เลยผมเจอปัญหากับ bandwidth ของ เวปหมดเร็วมาก รอบบนี้ผมเลยลองแก้ปัญหาโดยเอารูปบางส่วนใส่ใน Facebook ครับ หวังว่ามันจะไม่ดึงจากหมดอย่างรวดเร็วอีกนะ

งานโตเกียว Maker Faire จัดที่ Tokyo Big Sight ใน Odaiba คนไทยทั่วไป จะมาซื้อรองเท้า tiger กับดูหุ่นยนต์ Gundum  (เผื่อมาแล้วจะได้รู้ว่าไม่หลง) งานนี้จัดโดย O’Reilly Japan

อาคาร Tokyo Big Sight สิ่งก่อสร้างที่นี้ ใหญ่ และ ดูสร้างยากทั้งนั้นเลย (ล้ำๆๆๆ)

งานจัดในวันที่ 1 และ 2 สิงหาคม ตั้งแต่ 12.00-19.00 เขาให้เวลาตอนเช้าให้ผู้ร่วมงานได้จัด booth กันไปก่อน

บัตรเข้างานวันล่ะ 1500 เยน หรือ ประมาณ 450 บาทไทย ใช้ได้ วันต่อวันครับ ถ้ามาสองวัน ก็ซื้ออีกใบ

ได้บัตรเราก็ต่อแถวครับ ที่ผมมาไม่ได้มาก่อนเวลานะครับ ก้อบ่ายกว่าๆแล้ว แต่ผู้สนใจ มาร่วมงาน ค่อนข้างมาก งานปีนี้ มีผู้เข้าแสดง 350 ผลงาน และ มากกว่าปีที่แล้วถึง 40%

ภาพบรรยากาศงาน Maker Faire Hall กว้างเหมือน impact hall ต่อกัน 2 hall

การจัดงาน รูปแบบง่าย โต๊ะขาวๆยาว เมตรกว่า แสดงผลงาน กับ ผู้แสดงผลงาน ที่ภูมิใจ present ผลงาน อาจจะมีแผ่นพับ กับ บอร์ดอธิบายผลงานบ้าง แต่ส่วนมาก มีแค่คนกับของเลยครับ ผมชอบดิบดี 

ให้ดูว่า ทุกพื้นที่ เต็มไปด้วย ผู้มาเยี่ยมชม ผลงาน ทั้งเด็ก และ ผู้ใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัยครับ ไม่ได้จำกัด

เดินไปสักพักเจอ เพื่อน Maker ชาวญี่ปุ่น ที่เคยมาเยี่ยมไทย ตอนต้นปีครับ ดูรูปเลยเข้าใจว่าทำไม ไปยืนดูผลงานไหน เขาใส่ญี่ปุ่นมาเป็นชุดๆๆ คือเราเหมือนคนประเทศเขานั้นเอง (ในแบบหล่อไม่มากนะ)

แผนที่การจัดงานครับ โดยบทความผมจะแบ่งเป็นหลายตอนนะครับ พาชมเป็นโซน สงสัย คนใช้มือถือเปิด เดี่ยว Net หมด เพราะว่า รูปเราลงเยอะมากแน่ๆ

มันชมโซนแรกก่อน ผมพาไปดู โซนของ Sponsor  งานแสดง Maker ที่นี้ เขาไม่เน้นมาขายสินค้ากันตรงๆครับ ในโซน Sponsor เขาเป็นผลงานของ Maker นี้ล่ะที่เอาบอร์ด หรือ ส่วนหนึ่งของ Sponsor มาใช้ เรียกได้ว่าโชว์ขายของแบบ เนียบๆ tie-in ได้เนียบกว่า ขายของในทีวีบ้านเราเยอะ

M-Pression

เป็น บริษัทพัฒนาของญี่ปุ่น บอร์ดที่เข้ามาให้เราชม ชื่อ koshian เราได้รับทราบว่า บ.ญี่ปุ่น สิ่งที่แตกต่างจาก บ.ในไทย หรือ เขาตั้งใจออกแบบให้เอาไปใช้งานต่อไป บอร์ดนี้เขาออกแบบให้เล็ก เอาไปใส่ในผลิตภัณท์ แบบต้นแบบ หรือ แบบผลิตเกือบ mass ยังไม่ถึงขั้นผลิตเป็นแสน

Koshian เป็นบอร์ดที่พัฒนา สำหรับ BT มีขนาดเล็กมาก

ชุดพัฒนา

อันนี้เป็นบอร์ด stack

เทียบกับนิดให้ดู มัน module ชัดๆ

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างผลงานที่นำบอร์ดนี้ไป เอาชุดโมดุลข้างบน ไป stack กับ อุปกรณ์ต้นแบบหลายๆชิ้น อย่างเช่น

นาฬิกา เตือน เหมือนเราง่วง

หุ่นยนต์ สื่อสาร สองทาง แบบ IoT

นอกจากนี้ทาง m-pression ยังพัฒนาบอร์ดอื่นๆด้วย

MESH

เป็นของเล่นเพื่อการศึกษาที่น่าสนใจมาก อุปกรณ์ที่เห็นเหมือนยางลบ เชื่อมต่อกับไร้สาย ลากต่อกัน ให้ทำงานผ่าน app บน tablet ซึ่งบอกได้ว่าเสียดายผมไม่มี ipad ไม่งั้นคงเอามาเล่นล่ะ

MESH , เป็น maker tool ที่ทำให้เราทำอะไรก็ได้ ลากๆ คลิกๆ

หน้าตา ครับ เหมือนยางลบ แต่อัดแน่น ด้วย technology ไร้สาย

การโปรแกรมง่ายๆ อย่างที่บอก ลากๆ คลิกๆ โปรแกรมสวยงามมากๆ

อีกมุม ที่แสดงให้เห็นว่า sensor ชุดนี้เอาไปทำอะไรได้บ้าง

FlashAir

Flash Air คือ Wifi SD-Card ครับ ที่ไว้ใส่กล้องถ่ายรูปล่ะครับ แต่ที่ญี่ปุ่นเขามีนักพัฒนา ที่แกะเอาความสามารถ ไมโครคอนโทรลเลอร์ มาใช้งานได้ พวกเขาจึงได้ไมโคร ที่เชื่อม wifi ในราคาประหยัดได้ครับ

IMG_20150801_132942

หน้าตาของ Flash Air ครับ ที่ญี่ปุ่น การสร้างรถไฟจำลองเป็นเรื่องที่นิยมมากครับ เราจะได้เห็นงานอดิเรก สองอย่างมารวมกัน ทั้ง ไมโครและรถไฟ

รถไฟจำลองจาก FlashAir

เจ้า FlashAir ความสามารถมันหลากหลายมาก เขาเอามาทำตัวอย่าง ทั้งเครื่องเล่นเกมส์ , Gadget พวก IoT แปลกๆด้วยครับ

เครื่องขยายพลัง FlashAir

เกมส์ 8Bit จาก FlashAir

Microsoft

มาถึงฝั่ง microsoft กันบ้างครับ เป็นปีแรกที่เข้ามางาน maker faries แล้วขน windows 10 IoT มาโชว์กันด้วย ซึ่งไม่ได้มาโชว์เฉยๆ ยังร่วมมือกับ maker ทำโปรเจคแปลกๆมาแสดงกันเยอะมาก

Intel

Intel เป็นอีก บริษัทที่เปิดตัวสนับสนุน Maker จาก Product อย่างเช่น Intel Edison ล่าสุดอย่าง Intel Arduino 101 ในรอบที่ผมไป บูททาง Intel ใหญ่มาก มีตัวอย่างผลงานมาจัดแสดงเยอะมากครับ ผมเอาที่ผมจำได้มาเล่าให้ฟังนะครับ

ภาพวาดที่มองตามคนยืนได้

มองอะไร เจ้าหนู

ติด sensor ไว้ที่พื้นครับ เหมือนกับ ตั้งใจให้เรามองเห็นเลยครับ

anima เป็น animatronic งู กับ นกฮูก ที่เล่าเรื่องอะไรสักอย่าง แต่ทางผมไม่เข้าใจ

ชิ้นนี้น่าสนใจ เป็นเกมส์ต่อสู้ แบบ card ที่เราวาดเอง เอาไป สแกน แล้วจะได้ตัวละครของเราขึ้นมาได้ครับ

เด็กๆ กำลังเลือกภาพ ที่จะเอาระบายสี เอาไปใช้

มีแบบแกะด้วย วางข้างๆ ให้เห็นว่าใช้อุปกรณ์ อะไรข้างใน ซึ่งแน่นอน มีบอร์ด intel อยู่ในนั้น

อันนี้เป็น ระบบ super computer จาก intel edison

อันนี้เขามาโชว์กันส่งข้อมูลโดยใช้แสงครับ

แน่นอนต้องใช้ Intel สิ

ARM

บริษัท ARM มาเป็นบูทด้วยครับ ปีนี้ เอา IoT มาโชว์

DashBoard อะไรสักอย่าง

MikuOnchi เครื่องอะไรล่ะนิ ฮ่าๆ

คงโชว์ว่า wearable เดี่ยวนี้มี chip arm อยู่นะ

SensorPuck

Renesas

บริษัท ผลิต chip ของญี่ปุ่น จะไม่มาได้อย่างไง เขาขนบอร์ดสีชมพู ชากูระ มาด้วย ผมก็ติดกลับมาด้วยครับ ยังไม่มีเวลาทดลองเลย

ตัวเล็กๆ ก้อมีนะครับ

package กินขาดเลยครับ

มีตัวอย่างงานวางใกล้ๆ ผมคุยโน่น คุยนี้ตามประสา maker ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาครับ

โชว์ให้เห็น กันไปเลย chip เรากินไฟน้อยกว่า

Fujitsu

อีกบริษัทไฮเทคของญี่ปุ่นครับ เอาของมาโชว์ด้วย ผมว่าในไทย ไม่ค่อยเจออะไรแบบนี้นะครับ

มาพร้อมกับ สารพัด IoT

มันคืออะไรสักอย่าง แต่บางอย่างอาจจะตอบโจทย์ แค่ที่ญี่ปุ่นนะ

นาฬิกาโบราณ ของ Fujitsu

นาฬิกาโบราณ ของ Fujitsu

Google

สิ่งประดิษฐ์ จาก Google ก้อมีมาครับ

อันนี้ ถ้าใครดู April fool ปีหนึ่ง ปากกาปาได้ มาดูตัวจริงๆได้ที่นี้

แกะให้ดู version แบบทำงานได้จริงครับ เหมือนจะเป็น chip bluetooth

Kinoma Create

เป็น บริษัทญี่ปุ่นที่ออกแบบ อุปกรณ์ embeded ที่น่าสนใจอีกตัวครับ ชุดนี้ เป็น เหมือนบอร์ดคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมจอแสดงผล ที่เราโปรแกรมได้ เหมือนทำหน้าเวปไชค์

อันนี้เป็นอุกปกรณ์แนว IoT เขียนโปรแกรมด้วย javascript ถ้าผมจำไม่ผิคนะ

ให้เห็นหน้าจอชัดๆ

ราคา เท่านี้เองครับบบบ

เก็บตกครับ

เก็บตกนิดๆหน่อย จากการออกแบบของโปรแกรม autodesk

อันนี้ก้อใช้ autodesk ออกแบบ

หมดไปแล้วกับวันแรก ผมบอกได้เลย เสียเวลาไปอย่างมาก กับ การเดินดูงาน เพราะว่าแต่บูท เอาสิ่งประดิษฐ์ที่อาจทำเล่นๆ หรือ อาจจะเป็นกึ่งโปรดักส์มาโชว์กัน และมันก้อมีแต่สิ่งที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนจริงๆครับ อันนี้แค่ part แรกนะครับ เดียวจะมาต่ออีก น่าจะแบ่งได้ 4 ภาคนะครับ ฮ่าๆ หนักไปทางรูป ถ้าหาวีดีโอเจอจะมา update ให้ดูครับ

Hardware Startup Trends 2015

$
0
0

Hardware Startup

คำนี้ น่าจะได้ยินกันบ่อยๆ ในปีที่ผ่านมา Startup หมายถึงผู้ประกอบการณ์ สร้างระบบธุรกิจใหม่แบบใหม่ๆ ที่สามารถ scale up ได้ง่าย ไปตั้งที่ประเทศอื่นได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่นในไทย facebook, google, uber ,grab taxi แล้ว Hardware Startup ล่ะคืออะไร สำหรับในโลกของ Hardware อาจจะแตกต่าง จาก software หรือ ระบบไอที ผม เพราะว่า สิ่งหนึ่งธุรกิจนี้จะต้องสร้าง Hardware ที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหาชีวิตในปัจจุบัน

คนที่เป็น Hardware Startup กับ Maker มักจะเชื่อมโยงกัน แต่ใช่ว่า ทุกคนจะเป็น ผู้ประกอบการณ์ได้นะครับ

11046433_1043280932353372_4352500511754285539_nความแตกต่างของ Maker และ Startups

เมกเกอร์ เขาอาจแค่สนใจ อยากสร้าง อยากแก้ปัญหาเป็นหลักก่อน ไม่ได้ทำเพื่อตอบสนองธุรกิจ ตามความสนใจของเขาเอง (แลดู indie แต่ผมเชื่อ ทุกคน คงผ่านจิตวิญญาณ แบบนี้บ้างล่ะ) แต่ เมกเกอร์ บางคน อาจจะอยากเป็นผู้ประกอบการณ์นะครับ ต่อยอดจากสิ่งที่ประดิษฐ์ ไปเป็นผลิตภัณฑ์ นะครับ

อันนี้เป็น slide ที่ทางผมเอามาดูเป็น reference บ่อยๆครับ มันต้องโพสตั้งแต่ปี 2015 แล้ว ซึ่งยังไม่ได้เก่ามากครับ ใครสนใจอยากเป็น hardware startup ลองเอาไปเปิดอ่านดูครับ

เมื่อเปลวไฟและดนตรี มารวมกัน เราจะได้พบสิ่งเด็ดๆ

$
0
0

โปรเจคนี้เป็นการรวมกับระหว่างจังหวะดนตรี กับ เปลวไฟ ความมหัศจรรย์ อยู่ที่ พวกเขาคุมเปลวไฟให้เต้นไปกับเพลงได้ อย่างน่าประหลาดใจ


ทดสอบพลังการประหยัดไฟของ ESP8266

$
0
0

ESP8266 ชิปที่มหัศจรรย์ ไม่รู้ว่ามันจะมาไกลได้ขนาดนี้

ผมเอาตัวอย่างการทดสอบ การส่งข้อมูล ESP8266 ใน โหมด sleep mode เพื่อส่งข้อมูลเข้า cloud ของ sparkfun กับ ubidos.com การทดลองส่งข้อมูลทุก 2 นาที ปรากฏว่า สามารถส่งข้อมูลต่อเนื่องได้ถึง 17 วัน บน ถ่านกระดุม และ ถ้าส่งทุกๆ 1 ชม จะส่งได้ 25 วันครับ อะไรจะขนาดนั้นนนนนนนนน

Study For Fifteen Point

$
0
0

Study For Fifteen Point เป็นผลงานที่ใช้ตามองไม่ได้ ต้องใช้ตาเบลอมองๆนะครับ เราจะเห็นความมหัศจรรย์ การแสงเคลื่อนไหว (ว่าไปนั้น)

 

Super Mod Overlord 3d Printer

$
0
0

เอาล่ะครับ ช่วงนี้ กำลังกลับมาเป็นช่างกล เหมือนเดิมบ้าง หลังจากที่ได้รับ 3D Printer ของ DreamMaker ที่เอามาลงใน Kickstarter ปี 2015 ครับ ซึ่งกว่าทางผมจะได้ของน่าจะต้นปีแล้วล่ะมั่งครับ ถ้าผมจำไม่ผิคนะ ความน่าสนใจคือ เครื่องนี้เป็น Delta Bot ตัวแรกที่ทำแบบเชิงการค้าระดับโลก ก่อนหน้านี้จะมีแต่ 3D Printer แบบ Cartesian Robot ครับ และจากการ โฆษณาความล้ำ และ ราคา ใน Kickstarter ทำให้หลายคนตัดสินใจได้ไม่ยากครับ (รวมทั้งผมด้วย)

มินิรีวิว

หลังจากได้รับมา ผมจะลองรีวิวเป็นหัวข้อนะครับ

  1.  รีวิวหน้าตาก่อนนะครับ ตัวเครื่องใช้วัสดุเป็นอลูมิเนียม และ โลหะเป็นส่วนใหญ่ ดูดีมีคุณภาพ บอร์ดต่างๆ ทำโดย dfrobot น่าจะมั่นใจได้ว่าของมีคุณภาพ
  2. ชุดขับเคลื่อน ส่วนสไลด์ไกด์เป็นทองเหลืองจำนวน 6 ชุด อันนี้เรียกคุณภาพกลางๆ สไลด์ที่เป็นทองเหลือง ถูกใช้ใน ultimate maker ข้อดีจะเสียงเงียบ แต่วิ่งเร็วๆจะมีเสียงดัง ต้องหยอดน้ำมันบ่อยๆ มีสนิทจะติดง่ายนะครับ
  3. มอเตอร์ เป็น มอเตอร์ของ Minebea (made in thailand)  โดยเฉพาะ feed มีขนาดใหญ่มาก เพื่อให้ขับ Filament ไปตามท่อได้ ซึ่งมันกินกระแสเยอะมากด้วย ทำให้ตัวมันเองก้อร้อน จนบางที่เส้นละลายเลยที่เดียว
  4. Auto calibration bed ได้ที่น่าจะเป็น Feature หลักไม่ work นะครับ ทดลองพิมพ์แล้ว คุณภาพของชิ้นงานห่วยมากก เพราะว่าทางผมเองมีเครื่อง flashforge มาก่อน เลยพอเปรียบเทียบได้
  5. การทำงาน เสียงดังมาก และ ตัวมอเตอร์ช่วยขับมีความร้อนมาก ร้อนจากฐานพลาสติกที่ยึดพลาสติกงอได้เลย อันนี้ ถ้าใช้ไปนานๆ 24 ชม เครื่องมีปัญหาแน่  และ ผมเจอกับตัวเองงอไปสองรอบ ก็ดัดกลับไปเองล่ะครับ ถ้างอ อีก ผมเคยทำใหม่เองทั้งเครื่องแน่
  6. ชุดควบคุมเป็นของ overlord และ ใช้ firmware เป็น opensource ที่ forum จะมีคนโมดิฟาย แก้ไข เพื่อให้เครื่องนี้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

มาดูวิจารณ์กันบ้าง

เนื่องจาก สินค้าตัวนี้ ใช้เวลาพัฒนา นานพอสมควร และ ผมเองคาดหวังมากว่ามันคงดี ใช้งานได้เลย  แต่ที่ไหนได้ เอาจริง Delta แบบ DIY ยังจะทำงานได้ดีกว่าเลย และที่หนักที่สุดคือ มอเตอร์ครับ เสียงดัง และ ร้อนบ่อยมาก ผมเองยังสงสัย delta คนอื่น มันเป็นแบบนี้เปล่า เลยโพสถามใน facebook

ซึ่งส่วนมาก จะบอกว่า น่าจะผิคปกติ และให้กำลังใจว่า เสียงก้อดู starwar ดีนะ เนื่องจากเป็นสินค้า แบบ kickstarter เราไม่รู้จะส่งกลับไปซ่อม มันจะกลับใช้เวลาเท่าไร เลยตัดสินใจ แก้ไขเองแล้วกันพังเป็นพังทำไงได้ แนวทางนี้ ใน forum บอกว่า ให้ลดกระแสที่จ่ายให้มอเตอร์ และ ติด dampper ที่มอเตอร์ แต่ผมว่าปัญหาหนักๆ ก็ไอ้มอเตอร์มันนี้ล่ะ

เกิดเป็นเมกเกอร์ต้องอดทน ซ่อมเองก้อได้

  1. เปลี่ยนมอเตอร์ ตัวเสียงดังหนักมาจากมอเตอร์เลยครับ ผมลองถอดมาหมุนเปล่าๆ มันยังดังเลย  แต่ถ้าเปลี่ยนมอเตอร์ ผมต้องหา Pulley MXL มันด้วย อันนี้ยังโชดดีที่ overlord ยังเมตตาใช้ Pulley ที่มันยังมีขายนะ
  2. เปลี่ยน Motor Driver จาก DRV8825 เป็น TMC2100 อันนี้อาจเปลี่ยนเองครับ เห็นเขาว่าเงียบ
  3. เปลี่ยน Nozzle ชุดเดิมน่าจะ MK8 แบบ Borden เป็น เป็น E3D V6 clone จากจีน แล้วเปลี่ยนให้มันเบาลงด้วย ชุดเดิมจากหนักประมาณ 300gram คือ delta ถ้าชุดนี้หนักมาก จะทำให้วิ่งไว้แล้วมันสั่นมากครับ เลยเอา part นี้มาใช้ http://www.thingiverse.com/thing:1017252 เดี่ยวไว้ออกแบบเองอีกที่
  4. Backlash Reducer for Overlord / Overlord Pro ใช้ http://www.thingiverse.com/thing:892858 เอามาดึงให้ชุดของ Delta ไม่สั่นมาก อีกเช่นกันครับ
  5. หัดจูน bed level เองไม่ใช้ auto  อันนี้ได้ความเข้าใจ delta เต็มๆเลย มันต้องจูนระแนบทำงานให้แบนจริงด้วยครับ อันนี้ต่างจาก Cartesian ที่มันวิ่ง ระแนบ X-Y อยู่แล้ว จะทำให้มันลำบากไปทำไมนะ
  6. ชุด Feed ส่ง Filament ไปไม่ถึงบ่อยมาก หัวตันบ้าง ดันเส้นไม่สม่ำเสมอบ้าง ผมจึงแก้ด้วยเปลี่ยนหัว HeatBrake เป็นแบบเจาะทะลุ PTFE ทะลุถึงหัว Nozzle เลย เพื่อให้ Feed ได้อย่างต่อเนื่อง หัวไม่ตันบ่อยๆ แต่ว่าใช้ความร้อนได้แค่ 260 องศานะ เดี่ยวท่อละลายตาม ก็ไม่ได้เป็นปัญหา ผมพิมพ์แค่ PLA กับ ABS นิดหน่อย

เอาแค่นี้ก่อน เดี่ยว Overlord มันจะน้ำตาไหลไปมากกว่านี้ จริงคงมีให้แก้ได้อีก แต่ตอนนี้แก้จนไม่เหลือชิ้นส่วนเดิมแล้วครับ

อันนี้เป็นหลังจากแก้ไขมันไป ทุกอย่าง แล้ว


ชิ้นงานออกมาเนียบแบบนี้ได้

เอาเป็นว่าได้ประสบการณ์เต็มๆ กับการจูน ปรับแต่ง 3d printer แบบ delta นะครับ ก้อบอกว่า ถ้าคิดจะทำสินค้าให้เมกเกอร์นิ ถ้าไม่เก่งเท่าเมกเกอร์ ทำของขายพวกเขายากแน่ๆๆๆ ผมยังทำไปด่าๆไป บ่นไป มันออกแบบมาได้ไงว่ะ

EasyEDA ฟรี Platform สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์ทุกระดับ

$
0
0

EasyEDA เป็น Platform สำหรับนักทดลองอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถ ออกแบบแผงวงจร(PCB) ออกแบบวงจร(Schematic) และ จำลองการทำงานวงจร(SPICE Simulation) โดย Platform รันบน cloud หรือ เราสามารถใช้ที่ไหน ก็ได้ ที่เข้าเน็ทได้  ซึ่งทางผมเองก้อเคย นำเสนอไป เมือหลายเดือนก่อน ในบทความ ซอฟต์แวร์จำลองการทำงานของวงจรและออกแบบแผงวงจร– EasyEDA  มาในบทความนี้ ทางผมเอาจะมาขยายความอีกรอบ หลังจากที่ลองใช้มาสักพักครับ มันเหมาะเลยกับมือใหม่ ที่กำลังมองหาโปรแกรมออกแบบวงจร น่าจะลองกับตัวนี้ดูครับ

car_batt

รูปแบบของโปรแกรม EasyEDA ที่ให้เราออกแบบวงจร (Schematic) ,SPICE Simulation และออกแบบ แผงวงจร(PCB)

คุณลักษณะทั้งหมด ของ EasyEDA สามารถหาอ่านได้ที่ เว็บไซต์ นี้นะครับ แต่แบบย่อๆ ผมสรุปไว้ดังนี้

  • สามารถออกแบบวงจร (Schematic) EasyEDA ได้ออกแบบส่วนการใช้งาน คล้ายๆกับ โปรแกรมออกแบบวงจรไฟฟ้าอื่นๆ ที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น Kicad , Eagle และ Protel99se ถ้าใครเคยใช้มาก่อน ส่วนนี้จะคุ้นเคยดีแล้ว และ สำหรับมือใหม่นะครับ โปแกรมนี้ ไม่ซับซ้อนครับ ใช้งานง่ายนะครับ และ ตัวโปรแกรมสามารถบันทึกไฟล์ ออกมาเป็น .PDF ,ไฟล์ภาพ .png และ ไฟล์ Vector อย่าง .SVG ได้เลย ดูจากภาพข้างหลังนี้ได้เลยครับ ใครจะเอาไปออกแบบทำรายงานส่งอาจารย์สบายล่ะครับ
circuit

วงจรที่วาดจาก EasyEDA

  • ค้นหาชิ้นส่วน หลายคนอื่นจะกลัวว่า โปรแกรมใหม่แบบนี้ จะมี Component เยอะไหม สำหรับชิ้นส่วน (Component) ที่ไม่มีในชิ้นส่วนมาตราฐาน สามารถใช้ปุ่ม More Libraries ที่อยู่ด้านล่างหน้าจอ  ปุ่มนี้จะค้นหาอุปกรณ์เพิ่มเติมจากฐานข้อมูลนับ 100,000+ ชิ้น โดยชิ้นส่วนพวกนี้มาจาก Libraries ที่เปิดฟรีของ Kicad และ Eagle นั้นหมายความว่า Libraries จาก Sparkfun ,Seeeds ,Adafruits และ อื่นๆ อีกมากมาย เราสามารถเอามาใช้บน EasyEDA ได้ทันที และ ถ้ายังหาชิ้นส่วน(Part) ที่เราจะใช้ยังไม่เจออีก สร้างขึ้นมาเองได้อีก ดูจาก EasyEDA tutorial page
lib_eagle_kicad_1

สามารถใช้ Libraries วงจร และ footprint ของ Kicad and Eagle ได้

lib_eagle_kicad_2

ค้นหาชิ้นส่วน จาก Libraries ของ third-party โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม

  • เข้าถึงโปรเจค Open-Source ทาง Hardware อันนี้น่าจะเรียกได้ว่า เป็น มิติใหม่ของวงการอิเล็กทรอนิกส์ เลยก็ว่าได้นะครับ EasyEDA เป็น platform ที่เหมือนโปรแกรมออกแบบวงจร แต่พอรันบน cloud เราได้ใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย อย่างเราสามารถแชร์ วงจรที่เราออกแบบไว้ ให้คนไปพัฒนาต่อได้ และ ยังมีชุมชนคนสร้างวงจงอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งแบบ แบบอิสระ และ ระดับบริษัท hardware อย่างเช่น Seeedstudio แชร์วงจรไว้ ซึ่งเราเอาบางส่วน หรือ ทั้งหมดไปต่อยอด ดัดแปลงได้เลยอีกด้วยครับ
circuit2

เข้าถึง ไฟล์งานออกแบบที่เป็นโปรเจค open-source ที่แชร์โดยคนอื่นได้โดยง่าย ในตัวอย่าง seeed studio เอาโปรเจคเขามาแชร์ ให้เราได้ใช้ด้วย

  • คุณสมบัติ  Photo view ดูภาพของแผงวงจรก่อนที่จะผลิต เราสามารถเลือกสีของแผงวงจร กับ สีของ soldermask ได้ ก่อนที่จะสั่งทำได้ (อันนี้ ใน eagle ไม่มี ชอบให้เรานึกเอง)
photoview

คุณสมบัติ Photo view ให้ดูแผงวงจร ที่เราออกแบบได้ก่อน จะสั่งผลิต

  • สั่งทำ PCB ได้ทันที่ คุณสมบัตินี้ ในไทยอาจจะลำบากหน่อย แต่ผมว่าน่าสนใจ ทาง EasyEDA มีบริการจัดทำ PCB ด้วย เมื่อออกแบบเสร็จ เรากดสั่งได้เลย ในหน้าเวปเขานี้ล่ะ ส่วนของ UI เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเลยครับ ทำให้ไม่ต้องไปหาร้าน หรือ โรงงานห้ลำบาก แต่เขาไม่ได้บังคับนะครับ เขายังเปิดให้เรา download ไฟล์ Gerber ส่งให้โรงงานที่เราคุ้นเคยได้อีกเช่นกันครับ สำหรับตัวอย่างที่ผมเอามาให้ดู เป็นแผงวงจรสำหรับมอนิเตอร์แรงดันไฟ แสดงแบตเตอรี่รถยนต์ และ แสดงแรงดันไฟตอน charge ซึ่งโชว์ไว้ข้างล่างนี้ ภาพตอนออกแบบ กับ ภาพตอนทำเสร็จ เหมือนกันเลย
final_board

ประกอบบอร์ดมอนิเตอร์ไฟแบตเตอรี่ เหมือน ภาพ PhotoView ข้างบนเลยไหมล่ะ

final_board2

แผงวงจรที่สร้างเสร็จ สามารถอ่านแรงดันไฟ ขณะเครื่องยนต์ทำงานได้

  • สิ่งที่ดี ในการใช้งาน EasyEDA ไฟล์งานออกแบบทุกอย่าง อยู่บน cloud ซึ่งทำให้เราไปเปิดงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องไหน ก็ได้ ซึ่ง มันน่าสนใจมาก เราไม่ต้องแบกคอมพิวเตอร์ ที่เราต้องติดตั้งโปรแกรม และ หา Libraries ที่ใช้มาใส่ให้ครบ แบกไปด้วย ไปต่างประเทศ ก็แก้งานได้นะเอาสิ และ สำหรับทางเวปนะครับ งานส่วนใหญ่เราจะเป็นโปรเจค opensource ที่เปิดให้แชร์ มันน่าจะดีกว่ามาก เราแชร์บน platform ที่สามารถวิวไฟล์งานออกแบบได้เลยครับ

คุณสมบัติอื่นๆ ของ EasyEDA หรือ รายละเอียดอื่นๆ ดูได้ในวีดีโอนี้เลย

พาทัวส์ Maker Faire Tokyo ตอน 2 เนิร์ดๆ แบบเมกเกอร์ญี่ปุ่น

$
0
0

กว่าจะว่างกลับมาเขียนบทความในตอนที่ 2 ขออภัยท่านผู้อ่านด้วยนะครับ คิดว่าคงไปดูรูปกันไปหมดแล้วล่ะ สำหรับเด็กผู้ชายในยุคผมนิ สิ่งที่ติดตา และ สนใจมากญี่ปุ่น มี 2-3 อย่าง เทคโนโลยี ,หุ่นยนต์ , การตูน และ หนัง AV (อันนี้จะมาตอนหลังนะ)

ทำให้ทางผมนิ พยายามจะมาญี่ปุ่น เพื่อมาสิ่งเหล่านี้ล่ะครับ วันนี้เราจะมาต่อกันในโซน electronics maker ดูตามขนาดในแผนที่ จะกินพื้นที่ 3 block อย่างที่บอก เลยไม่แปลกใจทำไม ประเทศเขามีแบนด์ดังของอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายยี่ห้อเลยครับ ผมว่านี้อันนี้เป็นส่วนหนึ่งนะครับ

โซนแรก เครื่องเล่น Interactive

ในโซนนี้ เป็นเครื่องที่ไม่รู้จะผลิตขายหรือป่าว เป็นไอเดียแปลกๆ รู้แบบการจัดงาน เขาเอาโต๊ะมาวางเป็นรูปตัว ยู แล้วเมกเกอร์ เอาผลงานมาวางไว้บนเก้าอี้แบบข้างหน้า อันนี้เป็น ที่เห็น เหมือนเป็นเครื่องดนตรี เราสามารถสร้างเสียง noise จากการจับหน้าจอทีวี ครับ ต้องใช้กับทีวีแบบหลอด CRT ด้วยนะครับ

เดินมาอีกนิด ทางคุณลุง เขากำลับ set กล้อง webcam กี่สิบตัวล่ะนั้น ที่เห็นเป็น กล้องที่จะถ่ายแบบ 360 นะครับ ที่ในไทยจะเห็นเอามากระโดด ถ่ายรอบตัวล่ะครับ สำหรับอันนี้ คุณลุงเขาใช้ Raspberry PI รับภาพ และประมวลผลออกมาเป็นวีดีโอเลยนะครับ ไม่ธรรมดา

อันนี้แปลกดี คนดูเยอะมาก เป็นเกมส์ครับ ต้องนอนเล่น เราจะต้องกลิ้ง เพื่อบังคับ ตัวละครในเกมส์ทำอะไรสักอย่าง  ผมว่าเหนือยกว่าเดิมอีก ทรมาน

อันนี้ดูเป็นเกมส์ที่จริงจังอีกอย่าง เป็นเกมส์บังคับรถในราง ดูรถทามิย่า ทางขวามือครับ แถมยังมีทั้ง VR มีทั้ง Intel Edison มันคืออนาคตอีกแล้ว

มันดูให้ชัดรถทามิย่า แบบตอนเด็กๆ ที่เราเล่นนี้ล่ะ เอามาติดกล้อง

เด็กก้อบังคับ เล่นไปครับ ดูน่าสนุกดีนะ

โซนของเล่นกับไอเดียวแปลกๆ ที่จริงเยอะมากครับ อันนี้เป็นเกมส์ที่มีของเล่น Physical ข้างนอกด้วย ข้างบนมีกล้อง กับ โปรเจคเตอร์นะครับ

อันนี้เป็นเกมส์จริง ยิงกล่องข้างนอก ตัวกล่องติดโซลินอยไว้ครับ เราสามารถยิงจรวดในเกมส์ ไปทำให้กล่องกระเด้นได้ครับ

VR อีกล่ะ จำชื่อไม่ได้นะครับ แต่เขาทำเหมือนสวนสนุกจำลอง ดึงเราขึ้นไปสูง แล้ว ปล่อยลงมา โดยถ่ายทอดสดผ่าน VR หันหน้า ไปมาๆได้ ผมลองแล้ว ไม่เห็นจะเสียวเลย กล้องมันเบลอไปหมด ฮ่าๆ เป็นปัญหาของเทคโนโลยีล่ะครับ มันต้องสมจริง จะหลอกตาเราได้

โซนเมกเกอร์อิเล็กทรอนิกส์

ผมเดินมาโซนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกลุ่มที่มีคนเล่นใหญ่มากเยอะมาก ซึ่งส่วนมาก จะเจอพวก นาฬิกา เครื่องเสียงหลอดๆ บอร์ดอุปกรณ์แปลกๆ

ผมเลยแบ่งประเภทอุปกรณ์ เรียงรายการมาให้ดูกันครับ ชุดแรกเป็นนาฬิกา มีตั้งแต่นาฬิกาข้อมือ

มีแบบนาฬิกาตั้งโต๊ะ ที่น่าปัด เปลี่ยนสีได้ เป็นรุ้งเลย

แบบใช้ 7-Segment แปลกๆ ก็มีครับ อ่านไม่ออกไม่แน่ใจว่าเป็นนาฬิกาหรือป่าว

อันนี้แบบหลอด VFD หลอดเล็ก แลดู โบราณมากๆๆ

ขยับมาเป็นหลอด VFD 16 Segment ก้อมีครับ เอาของหายากมาทำกันนะนิ

หรือจะเป็น VFD แบบหลอดกลมๆ ก้อมีครับ ไม่รู้เขาไปหามาจากไหนจริง หลอดแบบนี้

Nixie Tube เราเห็นกันบ่อยล่ะ หลายชิ้นนิ เขาจะทำขายด้วยครับ

 

Nixie แบบหายากๆ ก้อมีครับ ใครเกิดทันบอกหน่อย หลอดนี้ใช้กับ เครื่องอะไรนิ

แบบชุด Kit เอากลับไปทำเองก้อมี แต่เข้าจะบัคกี้อุปกรณ์ SMT บางส่วนไว้นะครับ

คิดว่าหมดแล้วใช่ไหมคับ ยังไม่หมดด อันนี้นาฬิกาข้อมือ Nixie ผูกแขนไป เขาได้คิดว่าระเบิดนะนิ ที่เห็นถ้าเราขยับๆแขน จอจะติด เป็นโหมดประหยัดไฟ

Nixie แบบหลอดใหญ่ก้อมีอีกครับ ที่เห็น เขาไม่ได้จัดโซนนาฬิกานะครับ แต่กระจายไปทั่วงาน ผมรวมมาให้ชม

 

เมกเกอร์ นักโมดิฟาย

โชนนี้ เรียกว่า สายโมครับ เอาของเก่า มาโม จะเป็น Keyboard ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วได้มั่งครับ เขาก้อเอามาดัดแปลง เป็น keyboard คอม แบบนี้บ้านเรา อาจทิ้งถังแล้ว แต่มันดูเก๋จริงๆ ฝากเพื่อนอย่างรีบทิ้งของกันนะ เผื่อเอาไปให้ลูกโมดิฟาย

วิทยุครับ แต่มันไม่ธรรมดา พี่แกเอา Bluetooth ใส่เข้าไปสักล่ะ

ส่วน NEC นี้เป็น keyboard โบราณที่โมให้เป็น USB ต่อเข้าคอมพิวเตอร์ได้อีกเช่นกัน

แล้วอันนี้คืออะไรล่ะ โทรศัพท์โบราณครับ จำไม่ได้เอามาทำอะไรนะ คุ้นๆว่าหมุนแล้ว เลขขึ้นหน้าจอครับ

อีกงานที่เห็นเยอะสุด พวกเทคนิคการสร้างภาพโฮโลแกรม

ผมไม่รู้ว่าเป็นฟิลม์ หรือ อะไรนะครับ ผีน้อยเหมือนลอยอยู่ในฉากเลยครับ

เทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยใช้ strobe light ครับ ที่เห็นมันจุดทำงานนะ

อธิบายเทคนิคไว้ดังภาพ

สารพัด Smart Farm

กระถางต้นไม้แบบฉลาดๆ ก้อมีครับ

หรือจะฉลาด และ เชื่อมต่อ กับ เราตลอดเวลา ก้อมีครับ IoT มากๆ

ดูกราฟได้ด้วย ดูดีมากๆ

ส่วนอันนี้ น่าจะเป็นตัวช่วยปลูกต้นไม้เหมือนกันครับ

หมีน้อยช่างพูด จริงหมีตัวนี้ขยับ และ พูดตลอดเวลาครับ

เมกเกอร์อิเล็กทรอนิกส์สายแข็ง

HELIODRIVE เป็นบอร์ด Drive มอเตอร์ DC แบบหลายสิบแอมป์ เกือบเอากลับมาล่ะ

ชุดเสริม บอร์ดทดลอง ของ Intel Edison

สารพัดผลงานครับ

เป็นพัด POV ที่โบกๆ แล้วจะมีข้อความลอยบนอากาศ

ของโบราณสุด ก้อมีครับ อันนี้น่าจะเป็น micro processor ตัวแรกของโลกเลยมั่งนิ INTEL4004

ชุด logicgate ทำอะไร ก้อไม่รู้คนคุยกับเยอะเลย

ยังไม่หลุดจากของโบราณ เจอ นาฬิกา แบบ Scope ด้วย สวยเก๋ แถมเอาไปวัดไฟต่อได้

โซนของขายก้อมีครับ เขาติดป้ายขายกันแบบนี้เลย

ปีนี้ยังไม่เจออะไร IoT มากครับ แต่เราก้อเจอ ESP8266 Wroom2 กับ Product ในญี่ปุ่นแล้ว

VStone เอาหุ่นยนต์มาขายด้วย ในไทยเห็นล้อแบบนี้คงน้ำลายไหล มีทุกขนาดเลย

บอร์ดมากมี แต่อ่านไม่ออกเลยย

อันนี้เป็น Prototype แปลว่ายังทำไม่เสร็จ แขนหุ่นยนต์ครับ ใหญ่มากๆๆ ไม่รู้ปีหน้าจะขยับได้ยัง

มีคนแบกชุด cosplay มาให้เล่นด้วย ใส่แล้วเหมือนจะมีปีกบินครับ สาว ญี่ปุ่นใส่นะครับ

ผมลองใส่เองบ้าง มันก้อไม่เห็นบินได้นิ หลอกนิ

จักรยานไฟฟ้า ก้อมีครับ เขาทำเองทั้งคันเลยมั้งโหดแท้

สงสัยล่ะสิ ชายคนนี้ทำอะไร

มันคือ ปีนกล ยิงยางครับ กำลังบรรจุกระสุนเลยนิ

สารพัดของเล่นจาก Raspberry Pi

ทำ Pi ให้แกะเป็นเครื่องคอม โน็ตบุต

ส่วนบูทนี้ ทำแต่เครื่องเล่นเกมส์

มีทั้งแบบจอเล็ก จอใหญ่

 

ลำโพงแบบ DIY ก้อมีครับ ทรงอวกาศมากมาย

เกมส์ม้าแข่งก้อมี

ส่วนบูธนี้โชว์ ไอเดียแปลกใหม่ เหมาะกับเด็กๆ ทำขนมปัง ที่เป็น breadboard ด้วย

ทำให้ขนมเป็น Sensor สร้างสรรค์ดีนะ

ที่เขาทำได้ เขาเอาแผ่นอลูมิเนียม ติดไว้ข้างใต้ครับ อย่าไปเผลอกินล่ะ

เมกเกอร์หุ่นยนต์

ประเทศนี้เป็นประเทศมีความเป็นหุ่นยนต์อยู่สูงมาก ผมเองโตมากับ การตูน สงครามหุ่นยนต์ญี่ปุ่นนี้ล่ะ โซนนี้อย่าพลาด

หรือจะแนวแปลกๆๆ ไม่รู้มันเคลื่อนที่ได้ไง

เขาทำบอดี้ รถทามิยา เองครับ ในบูธเขาโชว์การออกแบบ aerodynamic กับ บอดี้ นี้ด้วย พี่ไม่ได้มาเล่นๆ เลยจริง

ploter แบบ เชือกๆๆ คนทำเยอะจัง ที่ญี่ปุ่น ก้อยังมี

คนนี้เขาเอาหุ่นยนต์ของเล่นมาทำให้กลับมาใช้ได้ แล้วให้เราถ่ายรูปเล่นกัน

หุ่นยนต์ตัวนี้มีมือ เหมือนคนจริงครับ เพราะว่ามันมีนิ้ว

มาดูงานหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นครับ งานละเอียดมาก ทั้งอคิลิค ทั้ง อลูมิเนียม เนียบ

ชุดนี้น่าจะเชิญมากนะครับ เขาทำ R2D2 นึกว่า เอามาจากหนัง starwar เลยนะนิ

ที่งาน เขาจัด robot fighter ครับ มีทุกชัวโมง ที่เห็นเป็นส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ที่จะขึ้นสู้กันครับ ดูแน่นไหมล่ะ

ตัวนี้จะดูเหมือนหนังการตูนตอนเด็กๆ มันนานมาก ชื่อเรื่องจำนึกไม่ออกเลย

หุ่นยนต์ transformer แปลงร่ายเป็นรถได้

ชุดนี้น่ารักครับ เขาทำง่าย servo 2 ตัวเอง เต้นดุกดิก

เป็น prop สวยๆครับ สำหรับคนชอบโมเดล

กระถางต้นไม้ที่เดินได้ สงสัยจะไว้เดินหาแสง น่ารักดีครับ

แบบจริงจังก้อมีครับ เป็นหุ่นยนต์แบบหลายขา ซับซ้อนมาก

ร้านขายมอเตอร์ก้อมี ผมว่าส่วนหนึ่งที่ อุตสาหกรรมDIY เติบโต ที่ญี่ปุ่น มีผู้ประกอบการณ์ทาง DIY เยอะ และ กลุ่ม Hobby นี้เล่นจริงจังมาก มอเตอร์ Futaba รุ่น body โลหะ กี่บาทนิ

มาๆยังไม่หมด เรือดำนำ แบบวิทยุบังครับ ตอนแรกนึกว่า เรือเท่ๆ

งานพี่เขาละเอียด มิใช่เล่นๆ

เอาล่ะถึงเวลาหุ่นยนต์สู้กันแล้ว ขอไปดูสักแป็บ ดูจำนวนคนครับ รอบงาน คนไม่ใช่น้อยเลยนะ

โฉมหน้าของนักสู้

DALEK เป็นหุ่นยนต์ ประเภท Telepresence ครับ ควบคุมระยะไกลได้

หน้าตาหุ่นยนต์ครับ ไม้แบบง่ายๆนี้ล่ะ

เวลาคนบังคับเสมือน ไปอยู่ที่นั้นจริงๆครับ ผมลองอีกแล้วเช่นกัน ปวดตาเหมือนเดิม

มาดูงานแบบละเอียดกันบ้าง เป็นโมเดลยานรบล่ะครับ แต่เขาละเอียดอีกเช่นกัน

ให้ดูชัดๆ อลูมิเนียมยังตัดจนบางขนาดนี้ ดูของต่อต่างๆ เขาจิงจังมากๆ

เอาล่ะครับกว่าจะทัวส์จน ในหมดตอนสอง คงได้เห็น ความจริงจังของชาวเมกเกอร์ญี่ปุ่น และคงได้ไอเดียเอาไปทำอะไรแปลกเล่นกันนะครับ

Viewing all 60 articles
Browse latest View live